ช่วงสักประมาณปีกว่าๆตัวเองได้มีโอกาสไปลงเรียน YOGA FLY และ Pilates กับสถานบันป๊าจิ๊ และที่ Absolute YOGA สาขาแถวบ้าน สนุกมากค่ะ ได้ทั้ง "ยืดคลายเส้น" และ "สร้างความแข็งแรงกล้ามเนื้อ" เป็นอย่างดี...สัจธรรมที่ค้นพบ/ รู้สึกในระหว่างการเล่นโยคะที่ชัดเจน คือทำไมตัวเองหนักได้ขนาดนี้ กว่าจะยกตัวเองผ่านเชือกโยคะขึ้นมาในแต่ละท่าได้ บอกเลยหากเชือกไม่เหนียวจริง มีขาดแน่!!! หรือนี่แหล่ะที่เรียกว่า
"ปฏิกิริยาแบกน้ำหนักตัวเอง สู้แรงโน้มถ่วงโลก"
แต่เชื่อไหมค่ะมีอีกกีฬา Outdoor ที่โหด มันส์ ฮา มากต่อปฏิกิริยาแบกน้ำหนักตัวเอง สู้แรงโน้มถ่วงโลกนั่นคือ "การปั่นจักรานขึ้นเขา" นั่นเอง ทฤษฎีนี้ถูกค้นพบด้วยตัวเองก็เมื่อครั้งที่ได้ไปปั่นขึ้นเขาในงานพิชิตมอหินขาว เมื่อปี 2557 ที่เป็นทางชันจริงๆนี่แหล่ะ จำได้ว่าตอนปั่นขึ้นเขาที่มีความชันเพียงแค่ 10% ก็ไม่ไหวเสียแล้ว พาลจะเอาตัวเองลงมาเดินหรือวิ่งยกจักรยานขึ้นเขา ง่ายกว่าเยอะเลย
คำถาม!!!ทำไมนักปั่นเก่งๆเขาสามารถปั่นจักรยานได้อย่างเหมือนกับมีพละกำลังมหาศาลหน้านิ่งคิ้วไม่ขมวด ในขณะที่ตัวเองปั่นขึ้นเขาทีไร หน้านิ่ว คิ้วขมวด ย่นแบบลืมฉีดโบท็อกซ์ได้ขนาดนั้น จักรยานสมรรถนะเบาหวิว ทั้งโยกตัว กระแทกขาส่งแรง ก็ไม่ได้ช่วยเสียเลย
--ออกแต่แรง ไม่มีเทคนิคปั่นขึ้นเขาผิดมหันต์---
- การใช้เกียร์แบบใช้ใจและรอบขา :เป็นเรื่องสำคัญมากที่ควรฝึกฝนให้ชำนาญด้วยตัวเราเอง เราควรรู้จักจักรยานของเราเสมือนเป็นส่วนเดียวกันกับตัวเราเองได้เป็นอย่างดี "รู้จุด รู้ตำแหน่งทุกท่วงท่างในระหว่างที่ปั่นให้ได้" เพราะเราไม่สามารถท่องทฤษฎีระหว่างที่ปั่นได้ คนส่วนใหญ่มักจดจำการเปลี่ยนเกียร์ระหว่างปั่นขึ้นเขาตามทฤษฎี "เปลี่ยนเฟืองหลัง เปลี่ยนจานหน้าลง รอบขานิ่ง"บอกได้เลยว่าอารมณ์สถานการณ์ปั่นขึ้นเขาจริง แค่หายใจและมีสมาธิอยู่กับตัวเองก็เหนื่อยแล้วค่ะ ท่องได้ท่องไป แต่ไม่คุ้นชินจักรยานและความรู้สึกตัวเอง มันก็ไม่รอดจริงๆนะ
- กรณีมีหัวลาก สิ่งสำคัญ คือ สายตาของเรากับการมองก้นของหัวลากข้างหน้าเราต้องมีความเชื่อมั่น ศรัทธา และไว้ใจคนที่เป็นหัวลากนะ อันนี้สำคัญมาก!! และเมื่อปั่นเข้าใกล้เส้นทางที่มีเนินชันไม่ควรเปลี่ยนเกียร์เบาทันที อาจจะลองปั่นด้วยเกียร์เดิมจนรู้สึกว่ารอบขาเริ่มลดลง (หนักขึ้น) แล้วค่อยลองเปลี่ยนเป็นเกียร์เบาลงทีละเฟืองหลัง ก็น่าจะดีกว่าจะได้เป็นการ TESTรอบขาของตัวเราเองด้วย และหากยังพบว่ารอบปั่นยังช้าอีก ก็ลองค่อยๆเปลี่ยนเกียร์จานหน้าลงทีละเฟือง (ให้มันรู้สึกเบาขึ้น) ซึ่งถ้าหากรอบขาเบาเกินไป ก็ค่อยขยับเปลี่ยนเฟืองหลังเพิ่มขึ้นทีละเฟือง (ให้มันรู้สึกหนักขึ้น)ตามมา ต้องลองหาจังหวะที่เหมาะสมเองกันดูนะ ส่วนตัวตบจนหมดเฟืองหน้า เฟืองหลัง ก็ยังแอบรู้สึกหนักค่ะ 555+ อันนี้ยืนยันยกความผิดให้กับแรงขาตัวเองเนื้อๆแบบไม่ใส่น้ำค่ะ 555+
- การออมแรงปั่นแบบปาดโคลนและแทงเข่า :ไม่ได้ต่อยมวยนะค่ะ อย่างพึ่งเข้าใจผิด หลักการปาดโคลนและแทงเขา คือการใช้หลักการมโน มโนว่าเราทำการกดน้ำหนังลงอย่างหนักเสมือนต้องการปาดอึน้องหมา แมว ติดอยู่ที่รองเท้าออกไปจากรองเท้าอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ส่วนการแทงเข่านั้นให้นึกถึง Stepดึงขาขึ้นเหมือนจะดึงขาไปแทงเข่าหลังจากได้ปาดอึออกไป ซึ่งจุดนี้จะใช้ต้นขาด้านหน้าที่เป็นกล้ามเนื่อที่ไม่ค่อยได้ใช้ปกติ บอกเลยว่าจะรู้สึกปวดเมื่อย ไม่ต้องกังวล คะ
- อย่าโยกตัวปั่น และเร่งความเร็ว ควรจัดท่าทางการปั่นช่วงบนของร่างการทำมุม 30 องศา โน้มตัวไปด้านหน้ามากกว่าปกติ เพื่อไม่ให้ล้อหน้าจักรยานยกขึ้น และส่งน่้ำหนักจากไหล่ไปที่อุ้งมือ นิ้วมือกดไปที่แฮนด์เพื่อให้ล้อยึดเกาะถนนมากขึ้น
- สิ่งสำคัญที่คิดว่าทุกคนน่าจะได้ประสบพบเจอ นั้นคือการสร้างกำลังใจให้กับตัวเองผ่านสมาธิ ควรหายใจเป็นจังหวะ หายใจเข้าให้ลึกแล้วค่อยๆปล่อย ส่วนตัวก็ใช้การหายใจทางปากช่วยด้วย เพราะการปั่นขึ้นเขาเน้นใช้ออกซิเจนเยอะกว่าปกติทางเรียบค่ะ
เวลาที่เราปั่นขึ้นเขามันท้อมากนะ อารมณ์อันธพาล เหวี่ยง เกิดขึ้นได้ไม่ยากเลยตลอดเวลาของการปั่นต้านแรวโน้มถ่วงโลกเพื่อขึ้นเขาให้ได้ แต่เชื่อไหม....เวลาที่เราทำมันได้สำเร็จ หัวใจเราจะพองโตมาก
....ฟินสุดๆ....
ว่าแต่ขึ้นเขาไปได้แล้ว แล้วจะกลับลงจากเขายังไง....
- เฮ้ย ตอนลงเขามันต้องมีหลักการกำกับด้วยเหรอ คำตอบต้องมีค่ะ เพราะโดยปกติแล้วความรู้สึกมันจะสวนทางกับตอนปั่นขึ้นเขาอย่างสิ้นเชิง ตอนเราปั่นขึ้นเขามันหนักมากนะ เปลี่ยนเกียร์จนหมดแล้วก็ยังหนัก แต่เวลาปั่นลงเขาเกียร์มันจะกลับกันเลยทันที ทุกอย่างจะเบาขึ้นโดยอัตโนมัติ ทางที่ดีควรปั่นแบบเลียเบรคไว้ส่วนตัวจะพยายามใช้เบรค 2ข้างเท่าๆกัน 50/50 แตะคุมความเร็วระหว่างช่วง 55-60 ระวังลมตีด้านข้างกันด้วยนะค่ะ เพราะอาจจะทำให้เสียการทรงตัวได้ ถ้าซ่าส์ปล่อยไหลลงเขาที่ความเร็วเกินกว่านี้ก็ตัวใครตัวมัน นะ ^^
- ที่สำคัญอีกประการ คือการจัดระเบียบร่างกายให้ดี "ก้มต่ำหลบลมไว้ให้มันแอโร่ที่สุด" นั่นคือการใช้ท่ามาตรฐานจับดรอป เข่าทั้งสองข้างหนีบเฟรมท่อนอนไว้แน่น เพื่อลดการสะบัดลงไปได้เยอะคร่า
ปล. อย่าลืมตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ เช่น เบรค ยาง ให้อยู่ในสภาพที่ดีและพร้อมใช้อยู่เสมอกันด้วยนะจ๊ะ ตอนนี้ผู้เขียนก็กำลังฝึกหัดความแข็งแรงอยู่ ไว้มีทีเด็ดจะเข้ามา update กันนะคะ ว่าแล้วขอไปเตรียมซ้อม Trainer จร้า
Bloger by Ann TREK Silque
Date Jan 20, 2015
![]() |
จากภาพคือความชันที่นักปั่นขาลง ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะด้วยความสูง ระยะลาดลง และทิศทางลง อาจจะทำให้สูญเสียการทรงตัวได้ไม่ยาก ในระหว่างการปั่นจักรยานลงจากเขาค่ะ |
![]() |
ท่าก้มปั่นลงเขาแบบนี้ อันตรายไปหน่อยนะค่ะ อย่ายกก้นแบบนี้เลย แอนว่ามันควบคุมการทรงตัวลำบากไปนะ |
![]() |
ใช้ท่าปั่นแบบจับดรอป จะช่วยให้เราสามารถควบคุมการทรงตัวและแอโรไดนามิกได้ดีขึ้น |
Bloger by Ann TREK Silque
Date Jan 20, 2015
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น